ตัววิ่ง

ยินดีต้อนรับสู่เว็บบล็อก ผลงานนักเรียนของ DUANGJAI ได้เลยคะ

วันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2559

เนื้อเรื่อง

พระนางมัทรีฝันร้ายว่ามีบุรุษมาทำร้าย จึงขอให้พระเวสสันดรทำนายฝันให้ แต่พระนางก็ยังไม่สบายพระทัย ก่อนเข้าป่า พระนางฝากพระโอรสกับพระธิดากับพระเวสสันดรให้ช่วยดูแล  หลังจากนั้นพระนางมัทรีก็เสด็จเข้าป่าเพื่อหาผลไม้มาปรนนิบัติพระเวสสันดรและสองกุมาร  ขณะที่อยู่ในป่า พระนางพบว่าธรรมชาติผิดปกติไปจากที่เคยพบเห็น เช่นต้นไม้ที่เคยมีผลก็กลายเป็นต้นที่มีแต่ดอก  ต้นที่เคยมีกิ่งโน้มลงมาให้พอเก็บผลได้ง่าย ก็กลับกลายเป็นต้นตรงสูงเก็บผลไม่ถึง  ทั้งท้องฟ้าก็มืดมิด ขอบฟ้าเป็นสีเหลืองให้รู้สึกหวั่นหวาดเป็นอย่างยิ่ง  ไม้คานที่เคยหาบแสรกผลไม้ก็พลัดตกจากบ่า ไม้ตะขอที่ใช้เกี่ยวผลไม้พลัดหลุดจากมือ ยิ่งพาให้กังวลใจยิ่งขึ้นบรรดาเทพยดาทั้งหลายต่างพากันกังวลว่า  หากนางมัทรีกลับออกจากป่าเร็วและทราบเรื่องที่พระเวสสันดร ทรงบริจาคพระโอรสธิดาเป็นทาน  ก็จะต้องออกติดตามพระกุมารทั้งสองคืนจากชูชก  พระอินทร์จึงส่งเทพบริวาร  3  องค์ให้แปลงกายเป็นสัตว์ร้าย  3  ตัว  คือราชสีห์  เสือโคร่ง  และเสือเหลือง  ขวางทางไม่ให้เสด็จกลับอาศรมได้ตามเวลาปกติ เมื่อล่วงเวลาดึกแล้วจึงหลีกทางให้พระนางเสด็จกลับอาศรม   เมื่อพระนางเสด็จกลับถึงอาศรมไม่พบสองกุมารก็โศกเศร้าเสียพระทัย  เที่ยวตามหาและร้องไห้คร่ำครวญ  พระเวสสันดรทรงเห็นพระนางเศร้าโศก  จึงหาวิธีตัดความทุกข์โศกด้วยการแกล้งกล่าวหานางว่าคิดนอกใจคบหากับชายอื่น จึงกลับมาถึงอาศรมในเวลาดึก  เพราะทรงเกรงว่าถ้าบอกความจริงในขณะที่พระนางกำลังโศกเศร้าหนักและกำลังอ่อนล้า พระนางจะเป็นอันตรายได้  ในที่สุดพระนางมัทรีทรงคร่ำครวญหาลูกจนสิ้นสติไป  ครั้นเมื่อฟื้นขึ้น  พระเวสสันดรทรงเล่าความจริงว่า  พระองค์ได้ประทานกุมารทั้งสองแก่ชูชกไปแล้วด้วยเหตุผลที่จะทรงบำเพ็ญทานบารมี  พระนางมัทรีจึงทรงค่อยหายโศกเศร้าและทรงอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานบารมีของพระเวสสันดรด้วย อ่านเพิ่มเติม


บารมี 10 บารมี

บารมีี แปลว่า กำลังใจเต็ม บารมี 10 ทัศ มีดังนี้
  1. ทานบารมีี จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ
  2. ศีลบารมี จิตของเราพร้อมในการทรงศีล
  3. เนกขัมมบารมี จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะ แปลว่า การถือบวช แต่ไม่ใช่ว่าต้องโกนหัวไม่จำเป็น
  4. ปัญญาบารมี จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารให้พินาศไป
  5. วิริยบารมี วิิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ
  6. ขันติบารมี ขันติ มีทั้งอดทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์
  7. สัจจะบารมี สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลา ว่าเราจะจริงทุกอย่าง ในด้านของการทำความดี
  8. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ
  9. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดี ไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น
  10. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ เมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว ใช้คำว่า "ช่างมัน" ไว้ในใจ

มหาชาติ หรือ มหาเวสสันดรชาดก

มหาชาติ  เป็นชาติที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ที่ได้เสวยพระชาติเป็นพระเวสสันดรและเป็นพระชาติสุดท้ายก่อนจะตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  คนไทยรู้จักและคุ้ยเคยกับมหาชาติมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย  ดังที่ปรากฏในหลักฐานในจารึกนครชุม  และในสมัยอยุธยาก็ได้มีการแต่งและสวดมหาชาติคำหลวงในวันธรรมสวนะ  ส่วนการเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีที่สำคัญในทุกท้องถิ่นและมีความเชื่อกันว่า  การฟังเทศน์มหาชาติจบภายในวันเดียวจะได้รับอานิสงส์มาก



อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ

 การฟังเทศน์ฟังธรรมมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลแล้ว มีเรื่องในชาดกเล่าไว้ว่า ครั้งหนึ่งขณะ ที่พระพุทธเจ้ากำลังทรงแสดงธรรมอยู่นั้น ปรากฏว่าคนฟังมีพฤติกรรมแปลก ๆ เช่น นั่งหลับ
บ้าง มองท้องฟ้าหรือแหงนดูดาวบ้าง แหย่เพื่อน ๆ ขีดเขียนดินเล่นบ้าง ฟังธรรมด้วยความ
เคารพบ้างหลังจากจบพระธรรมเทศนา มีอุบาสกคนหนึ่งเข้าไปทูลถามพระพุทธเจ้าเกี่ยวกับ
พฤติกรรมคนเหล่านี้ พระพุทธองค์ตรัสว่า คนที่นั่งหลับเวลาฟังธรรม ชาติก่อนเคยเกิดเป็นงู
เหลือม เพราะงูเหลือมหลังจากกินอาหารเต็มอิ่มแล้วก็จะหลับ คนที่มองท้องฟ้าหรือแหงนดู
ดาว ชาติก่อนเคยเกิดเป็นหมอดู หรือนักพยากรณ์ดวงชะตาราศี คนที่ชอบแหย่เพื่อนเล่นชาติก่อน
 อ่านเพิ่มเติม


ลักษณะคำประพันธ์
แต่งเป็นร่ายยาว  คำประพันธ์ประเภทร่ายยาว  หนึ่งบทจะมีกี่วรรคก็ได้  แต่ส่วนมากมี ๕ วรรคขึ้นไป  วรรคหนึ่ง ๆ มีตั้งแต่ ๖ คำขึ้นไป  ถึง ๑๐ คำหรือมากกว่า  มีบังคับเฉพาะระหว่างวรรค คือ คำสุดท้ายของวรรคจะส่งสัมผัสไปที่คำที่ ๑ ถึง ๕ ของวรรคต่อไป  เมื่อจบตอนมักมีคำสร้อย เช่น “นั้นแล”  “นี้แล”

ร่ายยาวมหาเวสสันดรชาดก เป็นร่ายยาวสำหรับเทศน์  จะมีคำศัพท์บาลีขึ้นก่อน  แล้วแปลเป็นภาษาไทย  แล้วจึงมีร่ายตาม  ในระหว่างการดำเนินเรื่องจะมีคำบาลีคั่นเป็นระยะ ๆ  คำบาลีนั้นมีความหมายเกี่ยวเนื่องกับข้อความที่ตามมา อ่านเพิ่มเติม


ผู้แต่ง

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส เป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 7 แห่งอาณาจักรรัตนโกสินทร์ (สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช) และเป็นพระราชวงศ์พระองค์แรกที่ทรงได้รับสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ยังทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราช พระองค์แรกที่ประสูติในสมัยรัตนโกสินทร์อีกด้วย ทรงสถิต ณ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรงสมณศักดิ์เมื่อปี พ.ศ. 2394 ถึงปี พ.ศ. 2396 รวม 2 พรรษา สิ้นพระชนม์เมื่อพระชนมายุได้ 64 พรรษา อ่านเพิ่มเติม